ทรัพยากรดิน

3.1 สภาพดินโดยทั่วไป

        สภาพดินโดยทั่วไปของจังหวัดมหาสารคามพบว่า มีดินอยู่  20  กลุ่มชุดดิน (ตารางที่ 1) มีเนื้อที่ประมาณ 3,667,846 ไร่หรือ 99.36 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่ทั้งหมด และเป็นพื้นที่เบ็ดเตล็ด   ประเภท  มีเนื้อที่ประมาณ   251,724 ไร่หรือ  0.64   เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่ทั้งหมด    

   3.2 แผนที่กลุ่มชุดดิน

        แผนที่กลุ่มชุดดินที่พบได้ในจังหวัดมหาสารคามซึ่งมีลักษณะและสมบัติที่แตกต่างกัน กลุ่มชุดดินที่พบในพื้นที่แบ่งเป็น 20 กลุ่มชุดดิน และพื้นที่อื่นๆ ดังภาพที่ 6  กลุ่มชุดดินที่พบมากที่สุดในจังหวัดมหาสารคาม  คือ กลุ่มชุดดินที่ 24  มีเนื้อที่ประมาณ 991,921 ไร่ หรือ 25.30  เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่จังหวัด  กลุ่มชุดดินที่  24  ค่อนข้างไมเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมในการปลูกพืชทั้งพืชไร่ไมผล และพืชผัก เนื่องจากเนื้อดินเป็นทรายจัดและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ แต่มีศักยภาพเหมาะที่จะใช้ในการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตวหรือพัฒนาเป็นทุ่งหญ้า  อย่างไรก็ตามในสภาพปจจุบันได้มีการใช้ประโยชนในการทํานา ปลูกพืชไร และไม้ผลบางชนิดแต่ให้ผลผลิตต่ำหรือค่อนขางต่ำ โดยเฉพาะใชทํานามักไดรับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ เนื่องจากดินเก็บกักน้ำไม่ค่อยอยู  กลุ่มชุดดินที่พบรองลงมาคือ  กลุ่มชุดดินที่ 22  มีเนื้อที่ประมาณ 794,514 ไร่  หรือ 20.27  เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่จังหวัด  กลุ่มชุดดินที่ 22  เหมาะที่จะใช้ในการทำนาเนื่องจากสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบมีน้ำขังแช่ในช่วงฤดูฝน แต่สามารถปลูกพืชไร่หรือพืชผักเช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวโพด ยาสูบ กระเทียม มะเขือเทศ ฯลฯ ก่อนและหลังการปลูกข้าวถ้ามีน้ำชลประทานหรือมีแหล่งน้ำธรรมชาติ ในเขตฝนตกชุก เช่น ภาคใต้ และภาคตะวันออก ใช้ปลูกยางพาราและไม้ผล

  3.3 ลักษณะและสมบัติของดินที่สำคัญต่อการเกษตร   

        รายละเอียด  ลักษณะและสมบัติของดินแต่ละหน่วยแผนที่ของกลุ่มชุดดินที่พบในพื้นที่  ได้แสดงไว้ในตารางที่  2 และตารางที่ 3

  3.4 การจำแนกความเหมาะสมและข้อจำกัดของดินสำหรับการปลูกพืช

       ความเหมาะสมและข้อจำกัดของดินสำหรับการปลูกพืชสรุปได้ดังนี้ (ตารางที่ 4 และ ตารางที่ 5)

1. ความเหมาะสมของดินสำหรับปลูกข้าว

1.1. พื้นที่ลุ่ม  ที่มีความลาดชัน  0-2  เปอร์เซ็นต์  มีเนื้อที่รวมประมาณ  169,912  ไร่ หรือ  4.335  เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่ทั้งหมด  ไม่มีปัญหาข้อจำกัดในการปลูกข้าว

1. 2 พื้นที่ค่อนข้างดอนหรือเป็นนาดอน   ที่มีความลาดชันตั้งแต่ค่อนข้างราบเรียบ ถึงลูกคลื่นลอนลาด  ( 0-5 เปอร์เซ็นต์ )  มีเนื้อที่รวมประมาณ   1,599,292 ไร่ หรือ  40.803  เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่ทั้งหมด   ดินที่ปลูกข้าวได้ดี  แต่อาจมีข้อจำกัดเล็กน้อย  เช่น  อาจมีการขาดน้ำในหน้าแล้ง    เนื้อดินเป็นทราย    เป็นดินเกลือ

1. 3 ดินที่ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับปลูกข้าว   พื้นที่ค่อนข้างดอนหรือเป็นนาดอน   ที่มีความลาดชัน ค่อนข้างราบเรียบ ( 1-2 เปอร์เซ็นต์ )   มีเนื้อที่รวมประมาณ 18,968  ไร่ หรือ  0.484  เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่ทั้งหมด   ดินปลูกข้าวได้ แต่มีปัญหาที่ดินเป็นดินลูกรัง

2. ความเหมาะสมของดินสำหรับปลูก พืชไร่  พืชผัก  ไม้ผล   และไม้ยืนต้น  

2.1 ดินที่มีความเหมาะสมสำหรับปลูก  พืชไร่  พืชผัก  ไม้ผล  และไม้ยืนต้น  พื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ ถึงลูกคลื่นลอนลาด(0-5 เปอร์เซ็นต์มีเนื้อที่รวมประมาณ 1,317,735  ไร่ หรือ  34.619  เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่ทั้งหมด    บางกลุ่มชุดดินอาจมีปัญหาข้อจำกัดบ้างในการปลูกพืช

2.2 ดินที่มีความเหมาะสมสำหรับปลูก  มะม่วงหิมพานต์  มะพร้าว  ไม้ใช้สอยโตเร็ว  ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์   พืชไร่  พืชผัก  ไม้ดอก ไม้ประดับ    แต่ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับปลูก ไม้ผล ไม้ยืนต้น  พื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ ถึงลูกคลื่นลอนลาด ( 0-5 เปอร์เซ็นต์ ) มีเนื้อที่รวมประมาณ  561,938 ไร่ หรือ  14.337  เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่ทั้งหมด    มีข้อจำกัดเล็กน้อยกับพืชบางชนิด เช่น  มีเนื้อดินเป็นทราย   ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

3. หน่วยแผนที่ดินเบ็ดเตล็ด  เป็นหน่วยของแผนที่ที่ได้แยกออกจากพื้นที่ดินที่มีศักยภาพในการใช้ประโยชน์  หรือบริเวณที่ไม่เป็นดินตามธรรมชาติ   มีเนื้อที่ประมาณ  251,725  ไร่ หรือ  6.422  เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่ทั้งหมด 

  3.5 ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินและแนวทางการแก้ไข 

1. ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ

ทรัพยากรดินโดยทั่วไปของจังหวัดมหาสารคาม   เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินที่เป็นดินทรายหรือตะกอนเนื้อหยาบ  วัตถุต้นกำเนิดดินเหล่านี้มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชต่ำ   เนื้อดินเป็นดินปนทรายหรือดินทราย   มีความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารต่ำและถูกชะพาลงไปในดินชั้นล่างหรือออกไปจากพื้นที่ได้ง่าย  ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

                   แนวทางแก้ไข การใช้ประโยชน์พื้นที่ดินบริเวณนี้ ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก อัตรา 1-4 ตันต่อไร่  ปุ๋ยคอก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ หรือปุ๋ยพืชสด อัตราเมล็ดพันธ์ 5-10 กก.ต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชปลูก  เพื่อช่วยปรับปรุงบำรุงดิน  เพิ่มผลผลิต และรักษาความสามารถในการผลิตของดินไม่ให้เสื่อมลงอย่างรวดเร็ว  ทำให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างยั่งยืน

               กลุ่มชุดดินที่พบ 6, 16hi, 17, 17hi, 17hiB, 18, 18hi, 18hiB,19, 19B, 20, 20x , 22, 22hi,22hiB,24, 24B, 25, 35B, 40, 40B, 56B,41B,44B   มีเนื้อที่ประมาณ   3,322.364  ไร่ หรือ   84.763  เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่ทั้งหมด

                 2. ดินทรายจัด

ดินทรายจัดจะมีความสามารถในอุ้มน้ำและดูดซับธาตุอาหารของดินต่ำถึงต่ำมาก ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชสูญเสียไปในดินชั้นล่างหรือออกไปนอกพื้นที่ได้ง่าย เมื่อมีการให้น้ำหรือมีฝนตก ดินง่ายต่อการกร่อน ทำให้เกิดเป็นร่องลึกและกว้าง ขาดแคลนน้ำ  

               แนวทางแก้ไข  การใช้ประโยชน์ของพื้นที่บริเวณนี้  ควรเลือกชนิดพืชที่ศักยภาพเหมาะสมมาใช้ปลูก เพื่อลดต้นทุนในการผลิต มีการปรับปรุงบำรุงดินร่วมกับมีระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น ปุ๋ยหมัก อัตรา 1-4 ตันต่อไร่  ปุ๋ยคอก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่  หรือปุ๋ยพืชสด อัตราเมล็ดพันธ์ 5-10 กก.ต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมี และใช้วัสดุคลุมดิน ทำคันดิน ปลูกหญ้าแฝกหรือปลูกพืชเป็นแถบสลับ  พัฒนาแหล่งน้ำไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดแคลนน้ำ  การใช้ปุ๋ยเคมีควรใช้ที่ละน้อยแต่บ่อยครั้ง  เพื่อลดการสูญเสียธาตุอาหารลงไปในชั้นดินล่างก่อนที่พืชจะนำไปใช้ได้หรือสูญเสียออกไปจากพื้นที่   เมื่อมีการให้น้ำหรือมีฝนตก

กลุ่มชุดดินที่พบ 24, 24B, 41B, 44B  มีเนื้อที่ประมาณ   1,634,883  ไร่  หรือ   41.711  เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่ทั้งหมด

   3. ดินเค็ม

ดินเค็มเป็นดินที่มีเกลืออยู่ในดินสูงจนเป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูก ความเค็มของดินจะทำให้พืชขาดน้ำ เหี่ยวเฉาและตายในที่สุด พื้นที่ดินเค็มสังเกตได้จากคราบเกลือที่ปรากฏอยู่ที่ผิวดิน โดยทั่วไปมีชั้นดานแข็งเป็นที่สะสมเกลืออยู่สูงภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน

                แนวทางการแก้ไข การใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณนี้ ควรเลือกพันธ์พืชที่ทนเค็มมาปลูก ลดอันตรายจากความเค็มของดินโดยการพัฒนาแหล่งน้ำและควบคุมไม่ให้น้ำที่เค็มแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่น ใช้น้ำล้างเกลือหรือปูพื้นด้วยแกลบแล้วไถกลบ เพื่อลดการนำเกลือจากดินชั้นล่างขึ้นอยู่ที่ผิวดินและมีวัสดุคลุมดิน พร้อมปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหรือพืชปุ๋ยสดร่วมกับปุ๋ยเคมี ในพื้นที่ที่มีคราบเกลือมากหรือเป็นดินเค็มจัดและไม่มีแหล่งน้ำ ไม่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรม ควรใช้ปลูกไม้ใช้สอยโตเร็วที่ทนเค็ม

                กลุ่มชุดดินที่พบ  20,    20x   มีเนื้อที่ประมาณ    255,216  ไร่ หรือ  6.511  เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่ทั้งหมด

                   4. ดินตื้น

ดินตื้นถึงชั้นลูกรัง เศษหิน ก้อนหินปะปนอยู่ในเนื้อดินตั้งแต่ร้อยละ 35  เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่า โดยปริมาตรภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน หรือมีชั้นหินพื้นตื้นกว่า  50  เซนติเมตรจากผิวดิน ดินตื้นจะเป็นอุปสรรต่อการชอนไชของรากพืชลงไปหาอาหาร นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เป็นดินน้อย ทำให้มีความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารและอุ้มน้ำต่ำมาก พืชจะขาดน้ำและทำให้เหี่ยวเฉาไวกว่าพื้นที่อื่น 

                แนวทางการแก้ไข เลือกพื้นที่ที่มีหน้าดินหนาและไม่มีเศษหินหรือก้อนหินอยู่บริเวณหน้าดินมาก เพราะจะเป็นอุปสรรคต่อการเกษตรกรรมและการดูแลรักษา โดยทำการเกษตรแบบวนเกษตรหรือแบบผสมผสาน ไม่ทำลายไม้พื้นล่าง ขุดหลุมปลูก พร้อมปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักอัตรา  25-50  กก.ต่อหลุมหรือปุ๋ยคอกอัตรา  10-20 กก.ต่อหลุมร่วมกับปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น ใช้วัสดุคลุมดินหรือปลูกหญ้าแฝก เพื่อรักษาความชื้นและลดการกร่อนของดิน พัฒนาแหล่งน้ำไว้ใช้ในระยะที่ฝนทิ้งช่วงนานหรือพืชขาดน้ำ สำหรับในพื้นที่ที่มีหินกระจัดกระจายอยู่บนดินมาก ไม่เหมาะสมต่อการเกษตร ควรปล่อยไว้ให้เป็นป่าตามธรรมชาติ เป็นที่อยู่อาศัยเพาะพันธ์ของสัตว์ป่า เป็นแหล่งต้นลำธาร สำหรับในพื้นที่เสื่อมโทรม ควรฟื้นฟูให้กลับมาเป็นป่าหรือปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว

                กลุ่มชุดดินที่พบ  25   มีเนื้อที่ประมาณ    5,579   ไร่ หรือ  0.142   เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่ทั้งหมด  (สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2550)

https://sites.google.com/site/eiiinzaye/khxmul-thawpi-khxng-canghwad-mhasarkham/3-sphaph-din-ni-phunthi

ใส่ความเห็น